สำนวนไทยวันนี้

ขนมผสมน้ำยา
ทั้งคู่ดีเลวพอกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครไม่ได้

เรียน English วันละนิด

Leave me alone.
ปล่อยให้ฉันอยู่คนเดียว

ตารางเรียน ตารางสอน




เข้าสู่ระบบ


 

มี 6 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

213230
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวมทั้งหมด
58
330
4285
206854
10472
38840
213230

IP ของคุณ: 3.21.244.14
วันที่ 28 เมษายน 2024 เวลา 04:37

เอกลักษณ์ของโรงเรียน

กลองสะบัดชัย

           กลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการตีกลองของชาวล้านนา ในสมัยโบราณจะตีกลองสะบัดชัยเพื่อประกาศความเกรียงไกรของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับชัยชนะจากข้าศึก หรือเมื่อมีการประลองฝีมือของขุนศึกและทหาร เพื่อให้เกิดความฮึกเหิมในการต่อสู้ และใช้ในขบวนแห่พิธีทางศาสนา เช่น งานปอยหลวงของชาวล้านนา ซึ่งยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบันผู้ที่ตีกลองสะบัดชัยจะตีด้วยท่าทางคล่องแคล่วว่องไวโลดโผนและสนุกสนาน
           ลักษณะกลองสะบัดชัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นกลองที่ย่อมาจากวัด (กลองปูจา) เมื่อย่อขนาดให้สั้นลงโดยหน้ากว้างยังคงใกล้เคียงกับของเดิมลูกตุบก็ยังคงอยู่ ลักษณะการหุ้มหน้ากลองเหมือนของเดิมทุกประการ ตัวกลองติดคานหามสำหรับคนสองคนหามได้ ต่อมาไม่นิยมใช้ลูกตุบจึงตัดออกเหลือแต่กลองใหญ่ ลักษณะการหุ้มเปลี่ยนจากการตรึงด้วยหมุดมาใช้สายเร่งเสียงเพราะสะดวกต่อการตรึงหน้ากลองให้ตึงหรือหย่อนเพื่อให้ได้เสียงตามที่ต้องการ ข้างกลองประดับด้วยไม้แกะสลักซึ่งนิยมแกะเป็นรูปพญานาคและมีผ้าหุ้มตัวกลองให้ดูสวยงามอีกด้วย
           การตีกลองสะบัดชัยที่ถูกต้องตามแบบดั้งเดิมนั้นในปัจจุบันนี้หาชมได้ยาก แม้กระทั่งลักษณะของกลองสะบัดชัยที่นิยมในปัจจุบัน ก็ลดขนาดลงเหลือแต่กลองใบใหญ่โดยการตัดลูกตุบออกเพิ่มลายพญานาคยึดระหว่างคานหามให้เกิดความสวยงาม รูปแบบของการตีกลองสะบัดชัยนั้น ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของเดิมไว้ หากไม่มีการพัฒนารูปแบบของการตีกลองสะบัดชัยอาจไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ของภาคเหนือจะมีรูปแบบและลีลาที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย แต่ยังคงเอกลักษณ์ของล้านนาดั้งเดิมอยู่ สำหรับในอำเภอทุ่งเสลี่ยมเดิมทียังไม่มีกลองสะบัดชัยอย่างที่เห็นในปัจจุบันมีเพียงกลองปูจาที่แขวนอยู่ตามหอกลองวัดต่าง ๆ เช่น วัดเหมืองนา วัดทุ่งเสลี่ยม
           กลองสะบัดชัยในอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้เริ่มมาจากการตีกลองม้งจึ่งเจ้และการฟ้อนเจิงซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านของอำเภอทุ่งเสลี่ยมโดยมีนายถา แก้วจาเครือ และนายกิ่ง สายนวล พร้อมด้วยชาวบ้านจากหมู่ที่ 10 บ้านแม่ทุเลาพัฒนา ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มการตีกลองสะบัดชัย การตีกลองสะบัดชัยของหมู่ 10 ได้แพร่หลายออกไปมีการแสดงในงานสำคัญ ๆ ของจังหวัด เช่น งานลอยกระทงเผาเทียนไฟจังหวัดสุโขทัย และงานประจำปีของอำเภอทุ่งเสลี่ยม ปัจจุบันเริ่มมีสถานศึกษาในอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้ให้ความสนใจที่จะสืบทอดการตีกลองสะบัดชัย โดยบรรจุอยู่ในหลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น มีการเชิญวิทยากรจากภายนอกในท้องถิ่นมาให้ความรู้และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดภาคเหนือ
           โรงเรียนบ้านธารชะอม เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น  ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย   โดยเน้นให้นักเรียนมีคุณภาพ “เก่ง  ดี  มีความสุข”  ซึ่งนอกจากจะพัฒนาศักยภาพทางวิชาการแล้ว  ยังมุ่งเน้นให้นักเรียนมีสุนทรียภาพทางศิลปะ  ดนตรีและกีฬา  ควบคู่ไปกับพัฒนาในด้านอื่น  โดยเฉพาะคุณธรรม  จริยธรรม  และการพึ่งพาตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
           กลองสะบัดชัย  ถือเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านแด่ดั้งเดิมของชาวล้านนา  ซึ่งในสมัยก่อนนั้นใช้ตีเพื่อให้เกิดความฮึกเหิมในการศึก  และตีฉลองชัยชนะในการศึก  แต่ในปัจจุบันไม่มีศึกสงครามแล้ว  กลองสะบัดชัยจึงสืบทอดต่อกันมาในลักษณะของการแสดง  ซึ่งในปัจจุบันเริ่มจะหาชมได้ยาก  จะหาชมได้เฉพาะจังหวัดในเขตภาคเหนือเท่านั้น     จังหวัดสุโขทัย มีเพียงอำเภอเดียวที่มีวัฒนธรรมแบบล้านนา คือ อำเภอทุ่งเสลี่ยม   การสืบทอดกลองสะบัดชัยในอำเภอทุ่งเสลี่ยมไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก เพราะเยาวชนรุ่นใหม่หันไปสนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ กันมาก  หากไม่รีบอนุรักษ์เอาไว้  กลองสะบัดชัยอาจไม่มีให้เห็นอีก
           โรงเรียนบ้านธารชะอมได้เริ่มสืบสานประเพณีด้านกลองสะบัดชัย  ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544  เรื่อยมา โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก  และได้ใช้ประกอบการเรียนการสอนเรื่อยมาจนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของโรงเรียน ปัจจุบันโรงเรียนได้ส่งเสริมและนำกิจกรรมกลองสะบัดชัย ไปร่วมงานต่าง ๆ ของอำเภอ ของจังหวัดและจังหวัดอื่น ๆ จนเป็นเอกลักษณ์มาจนถึงทุกวันนี้

 

Slot Gacor
WordPress CMS Checker